ผ่าน ตม. เกาหลีใต้ เรื่องง่ายที่ไม่ควรมองข้าม
"จะผ่าน ตม. เกาหลีได้ไหม?" เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยเมื่อวางแผนเดินทางไปเกาหลีใต้ ความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่นี่เป็นที่รู้กันดี โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่เคยประสบปัญหาถูกปฏิเสธการเข้าประเทศ การเตรียมตัวที่ถูกต้องและรู้วิธีตอบคำถามหรือกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนจึงสำคัญอย่างมาก
ในบทความนี้ เราจะพาคุณเจาะลึกถึงเหตุผลที่ทำให้การผ่าน ตม. เกาหลีดูยาก พร้อมทั้งเสนอแนวทางการเตรียมตัว เทคนิคที่ช่วยให้ผ่าน ตม. ได้แบบไม่สะดุด และวิธีการกรอกข้อมูลในเอกสาร ตม. อย่างละเอียด
ไขสาเหตุคาใจ ทำไม ตม.เกาหลีผ่านยากจัง!
-
เกาหลีใต้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม
มีนักท่องเที่ยวไทยบางส่วนแฝงตัวเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมาย จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ตม. ต้องเข้มงวดขึ้น -
กรอกข้อมูลในใบ ตม. ไม่ครบหรือผิดพลาด
เช่น ระบุชื่อสถานที่พักไม่ชัดเจน หรือไม่มีแผนการเดินทางอย่างละเอียดแนบไปด้วย -
มีประวัติเดินทางเข้าประเทศแล้วไม่กลับตามกำหนด
หากคุณเคยเดินทางแล้วมีประวัติการอยู่เกินกำหนด อาจถูกตรวจสอบอย่างละเอียด -
แต่งกายหรือพฤติกรรมไม่เหมาะสม
การแต่งตัวหรือแสดงออกที่ไม่สุภาพ หรือจัดเต็มมาก อาจทำให้เจ้าหน้าที่สงสัยถึงความผิดปกติ - ปัญหาด้านภาษา
หากไม่ชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาเกาหลี อาจทำให้สื่อสารคลาดเคลื่อนได้ง่าย พนักงาน หรือ ตม.อาจไม่เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังอธิบาย ส่งผลให้การสอบสวนใช้เวลานานมากขึ้น หรือไม่ผ่าน - ระยะเวลาเดินทางนานผิดปกติ
การเดินทางโดยวีซ่านักท่องเที่ยว กำหนดที่ 90 วัน หากต้องการอยู่ครบตามวัน และไม่มีเหตุผลการเดินทาง หรือแผนการเดินทางที่ละเอียดชัดเจน อาจทำให้เสี่ยงที่จะถูก ตม. ปฏิเสธการเข้าเกาหลี และส่งตัวกลับไทย -
พกสัมภาระมากเกินไป
กระเป๋าเดินทางที่มีของเยอะเกินไปอาจทำให้ ตม. สงสัยว่าคุณมีแผนอยู่เกินกำหนด -
ระวังพฤติกรรมที่อาจถูกมองว่าไม่โปร่งใส
เช่น หลีกเลี่ยงการหันหน้าหนีเจ้าหน้าที่ หรือแสดงอาการไม่มั่นใจ ตื่นตระหนก -
ไม่ตรวจสอบเอกสารล่วงหน้า
ไม่ว่าจะเป็นใบจองโรงแรมหรือแผนการเดินทาง ควรมีสำเนาเตรียมไว้อย่างครบถ้วน หากมีบัตรพนักงานของบริษัทที่ทำงาน การเตรียมเผื่อไปด้วยก็จะมีความโปร่งใสในการเดินทางมากขึ้น
ทำไมต้องระวังการผ่าน ตม. เกาหลี?
เกาหลีใต้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไทย แต่ด้วยปัญหาการแฝงตัวเข้าประเทศเพื่อทำงานอย่างผิดกฎหมายในอดีต เจ้าหน้าที่ ตม. จึงมักมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวด นักท่องเที่ยวต้องแสดงให้เห็นว่าเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวหรือเหตุผลอื่นที่โปร่งใส เช่น ธุรกิจ การเยี่ยมญาติ หรือการศึกษา
ปัจจัยที่ทำให้ผ่าน ตม. ยาก:
- การเตรียมเอกสารไม่ครบถ้วน เช่น ไม่มีหลักฐานยืนยันที่พักหรือแผนการเดินทาง
- ข้อมูลไม่สอดคล้องกัน ในใบกรอก ตม. และคำตอบต่อเจ้าหน้าที่
- อาชีพหรือสถานะที่ถูกตรวจสอบเป็นพิเศษ เช่น ผู้ว่างงาน หรือฟรีแลนซ์
เราจะช่วยคุณแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการเตรียมตัวอย่างรอบคอบและทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
7 เทคนิคผ่าน ตม. เกาหลี ล่าสุด 2568 เตรียมพร้อมก็ผ่านชิลๆ
1. ก่อนเดินทาง ลงทะเบียน K-ETA ให้ผ่าน
ตั้งแต่ปี 2022 เกาหลีใต้เริ่มใช้ระบบ K-ETA (Korea Electronic Travel Authorization) เพื่อคัดกรองนักท่องเที่ยวล่วงหน้า ทุกคนที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าจำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้าอย่างน้อย 72 ชั่วโมงก่อนบิน โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ K-ETA หรือผ่านแอปพลิเคชัน K-ETA มีค่าธรรมเนียม 10,000 วอน (ประมาณ 300 บาท)
เมื่อลงทะเบียนผ่านแล้วจะได้รับใบอนุญาตเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีอายุ 3 ปี (หรือจนกว่าพาสปอร์ตจะหมดอายุ) แต่การผ่าน K-ETA ไม่ได้การันตีว่าจะผ่าน ตม. ที่สนามบิน ดังนั้นเตรียมเอกสารอื่น ๆ และปฏิบัติตัวให้เหมาะสมด้วย
2. เตรียมเอกสารการเดินทางให้ครบ
เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียม ได้แก่:
- พาสปอร์ต: มีอายุใช้งาน เหลือมากกว่า 6 เดือน
- ใบลงทะเบียน K-ETA: พิมพ์หรือบันทึกในมือถือ (รายละเอียดตามข้อ 1)
- ใบตม. (Arrival Card): กรอกข้อมูลตรงกับ K-ETA ใบตม. จะได้รับขณะโดยสารบนเครื่องบิน หรือตั้งแต่สนามบินไทย
- ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ: เพื่อยืนยันการเดินทางกลับอย่างชัดเจน
- หลักฐานการจองโรงแรม: แสดงการมีที่พักอาศัย ตลอดที่อยู่ในเกาหลีอย่างชัดเจน
- หลักบานการทำงาน (ภาษาอังกฤษ): เพื่อยืนยันว่าคุณมีงานประจำ และต้องการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวจริง
- สำเนาบัญชีออมทรัพย์พร้อมยอดเงินคงเหลือ: เพื่อการตรวจสอบว่าคุณมีสถานะการเงินที่มั่นคง
- เงินสด (เงินวอน): ประมาณ 300,000-700,000 วอน หรือประมาณ 7,000 - 15,000 บาท เพื่อยืนยันว่าคุณเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอย่างไม่ติดขัด
แนะนำเพิ่มเติม อย่าเก็บข้อมูลสำคัญบางอย่างที่อาจทำให้เกิดข้อสงสัยในโทรศัพท์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบมือถือของคุณ
3. แต่งกายสุภาพ / จัดกระเป๋าสัมภาระให้เหมาะสม
การแต่งตัวควรเลือกชุดที่ดูสุภาพและเรียบร้อยช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ผู้หญิงควรใส่ชุดสุภาพ ไม่เปิดเผย ส่วนผู้ชายควรแต่งตัวเรียบง่ายและสะดวกในการเดินทาง เช่น เสื้อยืด กางเกงขายาว และรองเท้าผ้าใบ
จัดสัมภาระให้เหมาะสมกับระยะเวลาเดินทาง ไม่จัดกระเป๋าหรือเตรียมเสื้อผ้าที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ตม. กักตัวและสอบสวนเพิ่ม หากขนาด หรือสัมภาระมีมากเกินไป
4. นิ่งสงบ
ระหว่างพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ตม. ควรสุขุม ไม่ลนลาน สบตา และตอบคำถามด้วยรอยยิ้ม หากไม่เข้าใจคำถาม ให้ขอให้เจ้าหน้าที่พูดซ้ำอย่างสุภาพ เช่น "Can you repeat that, please?" ไม่ควรตอบคำถามที่ยังฟังไม่เข้าใจ
5. เตรียมพร้อมตอบคำถาม
คำถามที่พบบ่อย เช่น:
- เดินทางมากับใคร?
- มีกำหนดพักกี่วัน?
- ไปเที่ยวที่ไหนในเกาหลี?
- ทำงานอะไร?
- แลกเงินมาเท่าไหร่?
การตอบคำถามต้องมั่นใจและตรงกับเอกสาร ไม่ควรแสดงพิรุธหรือพูดภาษาเกาหลีหากไม่ถนัด หากไม่เข้าใจคำถาม ควรขอให้ถามซ้ำอีกครั้ง
6. ฝึกภาษาอังกฤษ
แม้ภาษาอังกฤษที่ ตม. ใช้อาจมีสำเนียงที่ฟังยาก แต่คำถามส่วนใหญ่มักง่าย เช่น "What’s your purpose of visit?" (เที่ยวหรือทำงาน) หรือ "Where will you stay?" (พักที่ไหน) หากไม่เข้าใจจริง ๆ ให้พูดว่า "Tourist" หรือ "Sightseeing"
7. ใช้ eSIM สำหรับอินเทอร์เน็ตเกาหลี
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช่วยให้คุณตรวจสอบข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว เช่น เอกสาร K-ETA หรือแผนที่การเดินทาง eSIM Vacay เป็นตัวเลือกที่สะดวกสำหรับใช้อินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้ สามารถเปิดใช้งานได้ทันทีตั้งแต่ถึงสนามบิน หมดปัญหาการหาซื้อซิมการ์ดแบบเดิม ๆ
ในกรณีที่คุณไม่มีอินเทอร์เน็ต และถูกกักตัวในห้องสอบสวน คุณจะไม่สามารถแสดงข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อยืนยัน หรือติดต่อขอความช่วยเหลือกับคนอื่นๆ และอาจทำให้คนสำคัญที่รอคุณอยู่เกิดความกังวลอย่างมาก
วิธีการกรอกแบบฟอร์มใบผ่าน ตม. เกาหลี พร้อมคำแปล
ปัจจุบันใบ ตม. เกาหลี หรือ Arrival Card บนใบกรอกจะมีภาษาไทยให้อ่านอย่างชัดเจน และมีคู่มือวิธีกรอกข้อมูลในบัตรขาเข้าแจกให้ในบางครั้ง ซึ่งสามารถกรอกตามช่องต่างๆได้ง่ายขึ้น แต่ข้อมูลที่กรอกทั้งหมด ต้องเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาเกาหลี และตรงกับ K-ETA หากเขียนไม่ชัดเจน อาจถูกปฏิเสธการเข้าประเทศ จึงต้องกรอกข้อมูลด้วยความระมัดระวัง
คุณอาจได้รับใบตม. ขณะอยู่โดยสารอยู่บนเครื่องบิน หรือตั้งแต่อยู่ที่ไทย เพื่อความสะดวกควรเตรียมให้พร้อม
ขอขอบคุณข้อมูลภาพจากเพจ Facebook: เที่ยวเกาหลี Korea Fan Club
ตัวอย่างฟอร์ม ตม. เกาหลี (Arrival Card):
- Family Name (นามสกุล): กรอกนามสกุลตามหนังสือเดินทาง
- Given Name (ชื่อจริง): กรอกชื่อตามหนังสือเดินทาง
- Male (ชาย), Female (หญิง): เช็กถูกช่องเพศที่ตรง
- Nationality (สัญชาติ): กรอกสัญชาติตามพาสปอร์ต
- Date of Birth (ปี เดือน วัน เกิด): กรอกเป็น คศ. ในรูปแบบ YYYY/MM/DD หรือ ปปปป/ดด/วว เช่น 1999|01|31
- Occupation (อาชีพ): กรอกอาชีพเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Employee (พนักงานบริษัท): สำหรับคนทำงานประจำ และควรหลีกเลี่ยงการเขียน Freelancer (ฟรีแลนซ์): สำหรับคนทำงานอิสระ อาจถูกตรวจสอบเพิ่มเติม
- Address in Korea (ที่อยู่ในเกาหลี): ระบุชื่อโรงแรม ที่อยู่ และเบอร์โทร ตามรูปแบบที่แจ้งในด้านหลังของ ใบ ตม.
- Purpose of Visit (วัตถุประสงค์): เลือก "Tourism" สำหรับท่องเที่ยว
- Signature (ลายมือชื่อ): ลายเซ็น ต้องเขียนให้เหมือนในพาสปอร์ต
คำแนะนำเพิ่มเติม:
- เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ เพื่อให้อ่านง่าย
- เตรียมเขียนใบตม. และตรวจสอบข้อมูลให้ครบก่อนถึงจุด ตม.
- ไม่ใช้ภาษาเกาหลี หากไม่ชำนาญ
- เตรียมข้อมูลที่ต้องกรอกให้พร้อมก่อนกรอก
อาชีพที่มีแนวโน้มผ่าน ตม. เกาหลีง่าย
อาชีพที่มีแนวโน้มผ่าน ตม. เกาหลีได้ง่ายมักเป็นอาชีพที่แสดงถึงความมั่นคงและมีพันธะผูกพันในประเทศบ้านเกิด ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ ตม. มั่นใจว่าเราจะเดินทางกลับประเทศตามกำหนด ตัวอย่างอาชีพที่มักผ่าน ตม. ได้ง่าย ได้แก่:
1. ข้าราชการ (Government Officer)
- การแสดงเอกสารรับรองการทำงานจากหน่วยงานราชการ หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและแสดงถึงความมั่นคงในอาชีพ
2. พนักงานประจำในองค์กร (Employees)
- พนักงานในบริษัทเอกชนหรือองค์กรที่มีชื่อเสียง หากมีเอกสารรับรองการทำงาน (ควรเป็นภาษาอังกฤษ) และบัตรประจำตัวพนักงาน จะช่วยยืนยันสถานะการทำงานของคุณได้
3. นักศึกษา (Students)
- หากคุณยังเรียนอยู่ สามารถแสดงบัตรนักศึกษา หรือหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพื่อยืนยันสถานะ และเหตุผลที่เดินทาง (อาจจะต้องแสดงแผนการท่องเที่ยวที่ชัดเจน)
4. เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการ (Entrepreneurs)
- สำหรับผู้ที่มีธุรกิจส่วนตัว การแสดงเอกสารที่เกี่ยวกับกิจการ เช่น ใบทะเบียนพาณิชย์ หรือเอกสารที่ยืนยันการดำเนินธุรกิจ จะช่วยให้ผ่านได้ง่าย
5. อาชีพในสายงานที่มีชื่อเสียงหรือเฉพาะทาง
- เช่น แพทย์ (Physician), วิศวกร (Engineer) หรืออาชีพที่ต้องการความชำนาญเฉพาะตัว หากมีเอกสารยืนยันตัวตน หรือใบประกอบวิชาชีพ ก็สามารถใช้ประกอบการผ่าน ตม. ได้ง่ายขึ้น
6. นักท่องเที่ยวที่มีประวัติการเดินทางที่ดี
- แม้จะไม่มีอาชีพที่ชัดเจน แต่หากเคยเดินทางไปต่างประเทศ และผ่าน ตม. มาแล้วหลายครั้ง (เช่น มีประทับตราพาสปอร์ตจากประเทศอื่น) จะช่วยยืนยันได้ว่าคุณมีประวัติการเดินทางที่ดี และไม่น่ากังวล
อาชีพฟรีแลนซ์ กรอกใบตม.เกาหลี ยังไง?
ถ้าคุณเป็น ฟรีแลนซ์ และต้องการผ่าน ตม. เกาหลี สิ่งสำคัญคือการเตรียมเอกสารและข้อมูลที่ช่วยแสดงถึงความมั่นคงในอาชีพและความตั้งใจกลับประเทศไทย ตัวอย่างการเตรียมตัวสำหรับฟรีแลนซ์มีดังนี้:
1. เอกสารรับรองอาชีพ
แม้ว่าฟรีแลนซ์จะไม่มีนายจ้างที่ชัดเจน แต่คุณสามารถใช้เอกสารเหล่านี้ยืนยันตัวตนได้:
- Portfolio หรือผลงานที่ผ่านมา
แสดงตัวอย่างผลงานที่เคยทำให้ลูกค้า พร้อมข้อมูลของโปรเจกต์ เช่น สัญญาว่าจ้าง (ถ้ามี) - หนังสือรับรองการทำงานจากลูกค้า
หากคุณเคยทำงานให้ลูกค้าหรือบริษัท สามารถขอหนังสือรับรอง (เป็นภาษาอังกฤษ) เพื่อช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ - ใบจดทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
สำหรับฟรีแลนซ์ที่จดทะเบียนพาณิชย์ สามารถใช้ใบจดทะเบียนนี้ยืนยันอาชีพของคุณได้
2. รายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement)
เตรียม Statement ย้อนหลัง 3-6 เดือน เพื่อแสดงว่าคุณมีรายได้ที่สม่ำเสมอ และมีฐานะการเงินที่ดี
- หากมีรายได้เข้าบัญชีเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือว่าอาชีพของคุณมั่นคง
3. หลักฐานที่แสดงความผูกพันในประเทศไทย
เพื่อยืนยันว่าคุณมีเหตุผลที่จะกลับประเทศไทยหลังการเดินทาง
- ทะเบียนบ้าน
- หลักฐานทรัพย์สินในไทย เช่น โฉนดที่ดิน หรือทะเบียนรถ (ถ้ามี)
- ครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนสมรส หรือสูติบัตรของบุตร
4. หลักฐานการเดินทางที่ชัดเจน
- ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
- การจองโรงแรมในเกาหลี
- แผนการเดินทาง (Itinerary) ที่ระบุสถานที่และกิจกรรมที่คุณจะทำในเกาหลี
5. ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
เตรียมเงินสด (วอน) สำหรับใช้จ่ายในเกาหลีในปริมาณที่เหมาะสม เช่น 50,000-100,000 วอน หรือมากกว่านั้น
- หากใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ให้เตรียมเอกสารที่ยืนยันวงเงินในบัตรด้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับฟรีแลนซ์
- ตอบคำถาม ตม. ด้วยความมั่นใจ
หากถูกถามเรื่องอาชีพ ให้ตอบตรงไปตรงมา เช่น "I’m a freelance graphic designer with clients in Thailand. I’m here for tourism and have a return ticket to Thailand." - หลีกเลี่ยงการแสดงท่าทีลังเล
เช่น การไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับแผนการเดินทาง หรือไม่มีเอกสารสนับสนุน - แสดงความมั่นใจในการกลับไทย
เช่น การระบุว่ามีงานที่ต้องกลับไปทำต่อหลังจากท่องเที่ยว
สรุปคือ ถึงแม้ฟรีแลนซ์อาจไม่มีเอกสารแสดงความมั่นคงเหมือนอาชีพประจำ แต่การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและแสดงความตั้งใจเดินทางกลับประเทศ จะช่วยเพิ่มโอกาสผ่าน ตม. เกาหลีได้ง่ายขึ้น!
ไปเกาหลีทำไมต้องใช้ eSIM Vacay?
eSIM Vacay มีความสำคัญมากสำหรับการเดินทางไปเกาหลี (และต่างประเทศ) เพราะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการสื่อสารระหว่างเดินทาง โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องผ่าน ตม. หากถูกเชิญไปห้องกักตัวเพื่อสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม ก็จะมีเน็ตไว้ใช้ติดต่อกับคนภายนอกได้ ข้อดีของ eSIM Vacay ขณะเดินทางไปเกาหลี มีดังนี้:
- สะดวกสบายและติดตั้งง่าย: ซื้อผ่านออนไลน์และติดตั้งได้ทันที
- แพ็กเกจครอบคลุมทั่วเกาหลี: ความเร็วแรง ไม่มีสะดุด บนเครือข่าย SK Telecom เครือข่ายอันดับ 1 ในเกาหลี
- โรมมิ่งไม่รั่ว: ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ จ่ายตามที่เห็น ครั้งเดียวจบ มีเน็ตแบบไม่จำกัดให้เลือกสำหรับคนที่กังวลเน็ตหมด
- สั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง: eSIM Vacay ให้บริการออนไลน์ 24/7 ด้วยระบบอัตโนมัติ สามารถซื้อแพ็กเกจได้แม้ในนาทีสุดท้ายก่อนออกเดินทาง
- มีเน็ตใช้ทันทีที่ถึงเกาหลี: ติดต่อสะดวกง่าย ทำได้ทันทีที่เครื่องลงจอด ไม่ต้องหาซื้อซิมให้เสียเวลา ก่อนผ่านตม. ไม่ต้องกลัวไม่มีเน็ตใช้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ eSIM Vacay ได้ที่:
ทำไม eSIM Vacay ถึงเหมาะกับการใช้งานในเกาหลี
สั่งซื้อ eSIM เกาหลีเลย
สรุป:
การเตรียมตัวก่อนเดินทางไปเกาหลีใต้ให้รอบคอบเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเอกสาร การแต่งกาย และการวางแผนการเดินทาง หากเตรียมตัวครบถ้วน โอกาสผ่าน ตม. ก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่าลืมใช้ eSIM Vacay เพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น!